สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

รู้หรือไม่? หลักสูตร STEAM4INNOVATOR ได้รับการรับรองหลักสูตรจาก สอวช. แล้วนะ

รู้หรือไม่? หลักสูตร STEAM4INNOVATOR ได้รับการรับรองหลักสูตรจาก สอวช. แล้วนะ (สอวช. ก็คือ สำนักงานนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ นั่นเอง !) พลาดไม่ได้! สำหรับ ครู อาจารย์ หรือสถานศึกษาที่สนใจปั้นเยาวชนให้เป็น “ผู้สร้างนวัตกรรม” ประโยชน์จากการรับรองหลักสูตรที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ 1. ได้เข้าร่วมหลักสูตรและหน่วยฝึกอบรมที่มีความน่าเชื่อถือ รับรองโดย สอวช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 2.ได้ความรู้เสริมทักษะ Upskill & Reskill ได้พัฒนาศักยภาพสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ 3.ได้รับการลดหย่อนภาษี ยกเว้นภาษีเงินได้สูงถึง 250% ของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การเป็น New Platform ของสนามการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมสำหรับเยาวชน ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของการปั้นเยาวชนและปูทาง ให้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจนวัตกรรมด้วย STEAM4INNOVATOR PROGRAM จาก NIA Academy สามารถดูข้อมูลหลักสูตร STEAM4INNOVATOR เพิ่มเติมได้ที่https://academy.nia.or.th/site/steam4innovators/

4 หลักสูตร Highlight ประจำปี 2566

“หลักสูตรพัฒนาศักยภาพ ทั้ง 4 หลักสูตรจาก NIA Academy ที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับเยาวชนจนถึงระดับผู้บริหาร” 4 หลักสูตร Highlight ประจำปี 2566 นี้ เรียนอะไร เรียนแล้วได้อะไร เหมาะกับใคร มาเจาะลึกกับไปกับ 4 หลักสูตรคุณภาพจาก NIA Academy สถาบันวิทยาการนวัตกรรมไปด้วยกัน 1. STEAM4INNOVATOR 2. SPACE-F (Global Food Tech Incubator & Accelerator Program) 3. SME to IBE (SME to Innovation Based Enterprise) 4. PPCIL (Public and Private Chief Innovation Leadership) ทั้งหมดนี้เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจข้อมูลหลักสูตรอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับความเป็นนวัตกรในตัวคุณ […]

อัปเดต! 16 หลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพประจำปี 2566 แบบจัดเต็มจาก NIA Academy (สถาบันวิทยาการนวัตกรรม)

สถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) มุ่งสร้างคนให้มีความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม จึงเชื่อมั่นในพลังนวัตกรที่มีอยู่ ในทุกคน ตั้งแต่กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ใหญ่ ทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาคการเมือง และภาคสื่อมวลชน ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเครือข่ายนวัตกร คิดเคลื่อนนวัตกรรมได้ “มุ่งสร้างนวัตกร ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม” ด้วยหลักสูตรและกิจกรรมประจำปี 2566 นี้ ที่มากถึง 16 หลักสูตรเด่นที่ช่วยสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมโดยแบ่งกลุ่มเป้ายหมายออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกันคือ 1. กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ (2S DEVELOPMENT) มุ่งพัฒนาเยาวชนที่สนใจปลุกศักยภาพนวัตกรและเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไกลการพัฒนากลุ่ม 2S ประกอบไปด้วย 2 หลักสูตรดังนี้ STEAM4INNOVATOR “หลักสูตรพัฒนาเยาวชนสู่การเป็นนวัตกร” หลักสูตรแผนการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมสำหรับเยาวชนไทยที่ต้องการก้าวไปเป็นนวัตกร เหมาะกับเยาวชนทุกระดับชั้น และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ พัฒนาเยาวชนตั้งแต่ระดับประถม มัธยม อาชีวะ จนถึงนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และคนรุ่นใหม่วัยเริ่มต้นการทำงานอายุระหว่าง 7-30 ปี ผ่านเครื่องมือที่หลากหลายตามกลุ่มวัย อาทิ ฐานการเรียนรู้ (Learning Station) ห้องเรียนนวัตกรรม (STEAM4i@School) […]

ก้าวสู่ปีที่ 6 กับ 16 เรื่องที่ทำให้คุณเติบโตไปพร้อมกับเรา“NIA Academy” สถาบันวิทยาการนวัตกรรม

1. มุ่งสร้างนวัตกรคนไทย ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาทักษะ เพิ่มขีดความสามารถและสร้าง ECOSYSTEM เพราะเราคือ แพลตฟอร์มสำคัญของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อสร้างนวัตกรคนไทย สร้างคอมมิวนิตี้ สร้างวิชาชีพ ซึ่งในอนาคตเราขาดนวัตกรไม่ได้ สถาบันวิทยาการนวัตกรรม ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2561 เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมทั้งในระดับอุตสาหกรรม ระดับองค์กร และระดับประชาชน เพราะที่นี่…เราเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพแฝงความเป็นนวัตกรอยู่ในตัวเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคลากรคุณภาพในทุกระดับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในระดับองค์กรและผู้ประกอบการไทยร่วมกันสร้างเครือข่ายนวัตกรไทยให้แข็งแรงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม สู่มาตรฐานสากลผ่านหลักสูตรการจัดการนวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ของสถาบันฯที่มีทั้งหลักสูตร Online และ Onsite มากกว่า 20 หลักสูตรต่อปี 2. รู้หรือไม่ว่า ที่ NIA Academy เราเชื่อว่าทุกคนมีความเป็น นวัตกรอยู่ในตัว โดยเราแบ่ง นวัตกรได้เป็น 5 คุณลักษณะ (T.R.I.B.E) ตามการใช้ชีวิตและแนวทางการทำงาน1. THINKERING นักคิดที่ชอบคิดต่าง เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ในการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ2. RESILIENCE นักพัฒนาที่ปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์ มีความยืดหยุ่นทางความคิด3. INSIGHT นักสังเกตการณ์ผู้มีวิสัยทัศน์ในการสังเกต รู้ลึก รู้จริง เข้าใจความต้องการคน4. BRIDGING […]

กะเทาะเปลือก “ระบบนิเวศสตาร์ทอัพการเกษตรไทย” เติบโตแค่ไหนในเวทีโลก

แกะหมดเปลือก! กับทุกความเคลื่อนไหวของ “AgTech Startup Ecosystem” ในประเทศไทย เคยสงสัยกันไหมว่า สตาร์ทอัพด้านการเกษตรของไทยไปถึงไหนแล้ว ? เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า ภาคการเกษตรมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างรายได้มหาศาลกลับสู่ประเทศ มีแรงงานอยู่ในอุตสาหกรรมนี้กว่า 1 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด และปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาด้านการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ   เพื่อสร้างความเข้าใจต่อแวดวงนี้ให้มากขึ้น จึงอยากชวนทุกคนค่อยๆ กะเทาะเปลือก ศึกษาข้อมูลด้าน “ระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตร” หรือ AgTech Startup Ecosystem ไปพร้อมๆ กัน เพื่อทำความเข้าใจถึงทิศทางการเติบโตและความสำคัญของระบบนิเวศนี้มากยิ่งขึ้น เพราะการเกษตรคือรากฐานและวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างช้านาน แม้ไม่ใช่ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนก็สามารถทำความเข้าใจได้  รู้ไว้ได้ประโยชน์! ภาพรวม “AgTech Startup Ecosystem” ในประเทศไทย จากการสำรวจข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 โดย NIA ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า AgTech Startup ของประเทศไทยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 ปี เท่านั้น แต่มีสตาร์ทอัพด้านการเกษตรกว่า 53 บริษัท โดยแบ่งสัดส่วนรูปแบบสตาร์ทอัพในแต่ละระดับดังนี้  – ระยะบ่มเพาะ (Seed) เป็นระยะที่สตาร์ทอัพมีผลิตภัณฑ์หรือบริการขายจริงในตลาดแล้ว […]

ติดอาวุธให้เกษตรกรไทย! สร้างความหวังใหม่ด้วย “นวัตกรรมการเกษตร” EP.5 | NIAnatomy

“สู้ชีวิตยังไง ให้ชีวิตมอบรางวัลกลับ” จะดีกว่าไหม ถ้าวันหนึ่งเกษตรไทยมีรายได้ที่มากขึ้น อยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตให้สมกับนิยามที่ว่า เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ ความหวังนี้ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะปัจจุบันมีสิ่งที่เรียกว่า “นวัตกรรมการเกษตร” หรือ AgTech เข้ามาช่วยติดอาวุธให้กับเกษตรกรไทย พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการเกษตรในทุกรูปแบบ วันนี้ใน Episode ที่ 5 จึงได้ชวนทุกคนมาพูดคุยกับ “คุณนก มณฑา ไก่หิรัญ” ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม บทบาทหลักคือ ผู้ดูแลงานพัฒนาสตาร์ทอัพรายสาขา โดยดูแลเป็นพิเศษในกลุ่มของสตาร์ทอัพด้านการเกษตร หรือ AgTech Startup นวัตกรรมด้านการเกษตรจะเข้ามาช่วยเกษตรกรในมิติไหนได้บ้าง และ NIA ช่วยส่งเสริมและบ่มเพาะระบบนิเวศนี้อย่างไร มาร่วมหาคำตอบพร้อมกันได้ที่ https://soundcloud.com/niathailand/ep5-nianatomy-podcast

ระดับความพึงพอใจ : ตัวชี้วัดคุณภาพบริการ

จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Silver societies) เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้น ประดิษฐ์ ยารักษาโรค วัคซีน อุปกรณ์การแพทย์ แพลตฟอร์มช่วยการวินิจฉัย และแพลตฟอร์มที่ช่วยการดูแลสุขภาพ โดยมุ่งหวังให้บริการทางการแพทย์และสุขอนามัยมีคุณภาพที่ดี และสามารถกระจายโอกาสการเข้าถึงในทุกระดับ แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจทั่วทั้งโลกกำลังซบเซา ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 ทำให้หน่วยงานเกี่ยวข้องกับบริการทางการแพทย์และสุขอนามัยทั้งภาครัฐและเอกชนสร้างแรงผลักดันให้นักวิจัย นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน และนวัตกร เร่งพัฒนาการให้บริการและระบบสุขภาพอนามัยที่ยั่งยืนในหลากหลายโครงการ โดยใน 3 ปีที่ผ่านมาได้งบประมาณจัดสรรเกี่ยวกับการแพทย์ ระบบสาธารณสุข และสุขภาพอนามัยมากกว่า 430,000 ล้านบาท ซึ่งแสดงว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการยกระดับบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย และมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่จำเป็นอย่างยิ่ง การแพทย์กับสุขภาพอนามัยมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยสอดคล้องกับวิถีขีวิตของคนในสังคม ซึ่งสิ่งที่ใช้วัดความสำเร็จที่ได้รับความนิยม คือ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ เน้นรูปแบบการให้บริการที่ยึดลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ ซึ่งแต่ละประเทศจะนำผลลัพธ์ระดับความพึงพอใจนี้มาเป็นข้อพิจารณาในการจัดทำแผนนโยบายและแผนปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะครอบคลุมตั้งแต่เรื่อง เทคนิคการรักษา การให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน สถานที่ ความสะดวกสบาย ไปจนถึงเรื่องการสร้างสมดุลระหว่างความคาดหวังและประสบการณ์ความประทับใจ แนวทางการพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัยด้วย “ระดับความพึงพอใจ” จะสามารถระบุจุดแข็ง จุดอ่อนของการบริการสุขภาพตามความคาดหวังของผู้ป่วย […]

STEAM4INNOVATOR

หลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมกลุ่มเครือข่ายผู้เข้าร่วมโครงการ โดยศักยภาพด้านธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการจะถูกบูรณาการเข้ากับความรู้ความเข้าใจทางด้าน STEAM ได้แก่  วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปะ (Art) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หรือที่เรียกรวม 5 วิชาว่า “สตีมศึกษา” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานที่มีมิติของการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอยู่ด้วยอย่างสมบูรณ์