สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

10 เครื่องมือและทรัพยากรสนับสนุน

  เครื่องมือต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นจะช่วยพัฒนาแนวคิดและทักษะ เชิงนวัตกรรม การก้าวทันองค์ความรู้ในยุคเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง การใช้ข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต ทักษะการบริหารคน องค์กรและความสัมพันธ์เพื่อสร้างเครือข่าย รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ และเสริมการลงทุนด้วยความรู้ด้านการเงินและการเข้าถึงการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการปิดจุดอ่อนและเตรียมความพร้อมให้กับธุรกิจอย่างรอบด้าน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสในการริเริ่มและต่อยอดธุรกิจนวัตกรรม โดย 3 ชุดเครื่องมือ ประกอบด้วย

5 เครื่องมือพัฒนา ศักยภาพด้านนวัตกรรม​​

1. MOOCS (Massive Open Online Courses)

  สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ด้วยตนเอง เติมข้อมูลความรู้ด้านการสร้างธุรกิจนวัตกรรมตั้งแต่ระดับพื้นฐาน (Explore)ระดับประกอบการที่เจาะข้อมูลลงรายสาขาอุตสาหกรรม (Expertise) และระดับการต่อยอดขยายธุรกิจ (Expand) โดยเรียนผ่านคลิปวิดีโอ 2 รูปแบบ ได้แก่ วิดีโอสำหรับเรียนผ่านระบบออนไลน์ (VDO Online Course) และวิดีโอสารคดีสร้างแรงบันดาลใจ (Documentary Base) ระบบประเมินผลการเรียนเพื่อรับประกาศนียบัตรจบหลักสูตรมอบโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

2.Ignition (เครื่องมือจุดประกายความคิด)

  กิจกรรมส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรม สร้างความรู้ที่เข้มแข็งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อทดลองใช้เริ่มต้นคิดค้นนวัตกรรม อาทิ การอบรมภาคทฤษฎี (Training) มีทั้งแบบการอบรมโดยทั่วไป (Classroom) และห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) มีกระบวนการย่อย อาทิการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion) แบ่งกลุ่มทำงานร่วม (Group Work) การสัมมนา (Seminar) ผ่านการเชิญวิทยากรมาบรรยายเดี่ยวหรือบรรยายเป็นกลุ่ม การสัมมนาออนไลน์ (Webinar) การศึกษาดูงาน (Field Trip) การจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ (Learning Station) ค่าย (Camp) การฝึกงาน (Apprenticeship) การนำเสนอ (Presentation) การพัฒนานวัตกรรมผ่านการแข่งขันทำต้นแบบ (Hackathon)

3.INCUBATION

  เครื่องมือบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสร้างธุรกิจตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคคลในการคิดค้และวางแผนการดำเนินธุรกิจ การคิดค้นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เพิ่มกำไรอย่างก้าวกระโดดการบริหารจัดการที่ควบคุมได้ สร้างรากฐานการประกอบกิจการเพื่อการเติบโตในอนาคต

4.Acceleration (เครื่องมือเร่งรัดการเติบโต)

  เครื่องมือเร่งรัดการเติบโต เป็นเครื่องมือเร่งสร้างความเข้มแข็งและกำหนดแผนที่การเติบโตของธุรกิจนวัตกรรม การระบุโอกาสในการขยายกิจการและการเข้าถึงแหล่งทุน ตลาดและความร่วมมือในระดับประเทศและระดับโลก

5.Networking (เครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่าย)

  เครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่าย เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายวงของธุรกิจให้กว้างขวาง เชื่อมโยงพันธมิตรเพื่อสนับสนุนการทำงานระหว่างกันอย่างเข้มแข็ง ขยายฐานเงินลงทุน การค้า การตลาดด้วยความสามารถและจุดแข็งที่เพิ่มขึ้น มีรูปแบบกิจกรรมทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ อาทิ การนัดหมายพบปะกัน (Mingle) การจับคู่ความร่วมมือ (Matching) การสร้างสรรค์งานร่วมกับบุคคลหรือองค์กรต่างๆ (Co-creating) การพบปะและแลกเปลี่ยนทรรศนะกับผู้ก่อตั้งธุรกิจ (Founder Meeting) และการนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching & Demo)

3 ทรัพยากรสนับสนุน​

1.Expert pool (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)

  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อการสนับสนุนความรู้และประสบการณ์อย่างเข้มข้น ในรูปแบบต่างๆ อาทิวิทยากร (Speaker) ที่ปรึกษา (Consult) อาทิ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ (Business Consult) และผู้ให้คำแนะนำ (Advisor)อาทิ ผู้แนะนำด้านเทคโนโลยี (Technology Advisor) ผู้นำด้านนวัตกรรม (Innovation Leaders) พี่เลี้ยง (Mentor)/ ผู้ช่วยสนับสนุน (Assistant) โค้ช (Coach) เช่น โค้ชด้านธุรกิจ (Business Coach) โค้ชด้านอาชีพ (Career Coach)รูปแบบโค้ชแบบตัวต่อตัว (One-on-one Coaching)และนักลงทุน (Investor) รวมถึงผู้ประเมินและแนะนำการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมขององค์กร

2. FORESIGHT

  สำหรับผู้ที่สนใจและให้ความสำคัญกับการคิดเชิงอนาคต (Future Thinking) และนำเครื่องมือการมองอนาคตนี้ไปช่วยในการมองภาพอนาคตเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในระดับประเทศ ระดับอุตสาหกรรม และระดับองค์กรต่อไป

3. FUND

  กลไกการสนับสนุนทางด้านเงินทุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจสำหรับเยาวชน อาทิ รางวัลการประกวดต่างๆ (Competition) กองทุนยุวสตาร์ทอัพ (Youth Startup Fund) และเพื่อการลงทุนใหม่สำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรม อาทิ ทุนนวัตกรรมแบบเปิด ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (Open Innovation Grant) และทุนนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation Grant) เพื่อการลงทุนใหม่สำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนจากภายนอกทั้งในรูปแบบ Angle Investor และ Venture Capital (VC)

2 เครื่องมือประเมิน และกำหนดมาตรฐาน​

1. IOP Assessment & Certification

  โมเดลพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Model) ที่สามารถประเมินจุดแข็งจุดอ่อนเพื่อการมุ่งพัฒนาในมิติที่สำคัญสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมระดับประเทศ พร้อมระบบการรับรองระดับองค์กรนวัตกรรม โดยมี 2 รูปแบบ คือ การประเมินศักยภาพนวัตกรรมขององค์กรด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Online Self Evaluation) และการเข้าประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อระบุโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ (On-site Assessment)

2.Capability Assessment & Certification

  ระบบติดตามและเก็บผลประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมของบุคคล (Tracking System) เพื่อการออกแบบแผนพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมเพื่อยกระดับความสามารถเฉพาะราย พร้อมการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อออกประกาศนียบัตรหรือใบรับรองความรู้ความสามารถสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม (Certificate) และสำหรับผู้ต้องการเป็นตัวแทนจัดอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันวิทยาการนวัตกรรม (Certified Issuing Agency) อาทิ ผู้บ่มเพาะที่ได้รับการรับรอง (Certified Incubator) และผู้สอนหลักสูตรเยาวชนที่ได้รับการรับรอง (Certified STEAM4INNOVATOR’s Trainer)

Post Views: 4,707