สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

6 สิ่งที่ธุรกิจต้องทำ ถ้าอยากเป็นผู้อยู่รอดในระยะยาว

“ถ้าไม่อยากโดน Disrupt ต้อง คิดแบบ

Innovation Based Enterprise องค์กรฐานนวัตกรรม”

1) “อย่ามัวขายในสิ่งที่เรามี ให้ขายในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ” ณ วันนั้นลูกค้าสนใจหรือให้ค่าสินค้าของเราจริงหรือไม่ ช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตที่ ดีขึ้นหรือเปล่า อันดับแรกต้องหา Pain Point ในธุรกิจของเราก่อน วิเคราะห์ว่าลูกค้าไม่พอใจในจุดไหนบ้าง แค่ใช้ Empathy ทำความ เข้าใจลูกค้า บางทีอาจไม่ต้องใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอะไรเลย ยกตัวอย่างเช่นบุฟเฟ่ต์ไอศครีมที่ตักไว้เป็น Scoop ไม่ให้ลูกค้า เปื้อนมือ ร้านขนมปังสังขยาที่ใช้แก้วแบบ 2 in 1 ทั้งใส่ขนมปังและนํ้าได้ในครั้งเดียว ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อไปแล้วเดินถือกินได้เลย

2) “อยากเป็นที่จดจำอย่าทำเหมือนคนอื่น” 90% ขายเหมือนคนอื่น 9% แตกต่างและมีจุดขาย อีก 1% เป็น Top of Mind การที่จะ แตกต่างและมีจุดขายคือธุรกิจนั้นจะต้องมี Unique Selling Point อันดับแรกต้องรู้ก่อนว่า “เราทำอะไรได้ดี ลูกค้าต้องการอะไร สิ่งที่ คู่แข่งก็ทำได้ดีเหมือนกัน” สิ่งที่ต้องทำคือ Winning Zone ถ้าเราทำตามคนอื่นแล้วแข่งไม่ได้ก็จะไปตกอยู่ที่ Risky Zone ในทันที ทุกธุรกิจต้องมี Point of Parity แต่สิ่งที่ต้องมีเพื่อสร้างความแตกต่างคือ Point of Difference

3) “แค่ปรับตัวไม่พอ ต้องให้เร็วกว่าคนอื่นด้วย” ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่รัฐประกาศให้คนกินชาบูต้องนั่งคนเดียว แยกหม้อแยกโต๊ะ สิ่งที่ร้านทำคือให้พนักงานไปซื้อท่อ PVC ทำฉากกั้นขึ้นมา เชิญสื่อให้มาทำข่าวเกิดเป็นไวรัลและทำให้ลูกค้าเดินทางมากินที่ร้าน เอาหม้อคนโสดที่ขายไม่หมดมาให้ลูกค้า ภายหลัง สคบ. จึงเอาตัวอย่างของร้านไปใช้เป็นมาตรฐานสำหรับร้านอื่นๆ เป็นไวรัลดังไป ถึงต่างประเทศและทั่วโลก จน Facebook ต้องนำไปใช้เป็น Case Study สำหรับ SME ที่เอาตัวรอดได้ด้วยเฟสบุ๊ค

4) “เดินไปในที่ ๆ ลูกค้าอยู่ ไม่ใช่ให้ลูกค้าเดินมาหาเรา” โซเชีลมีเดียไม่ได้มีแต่ใน Facebook อีกต่อไป แต่ละแพลตฟอร์มมี Nature ต่างกัน สำหรับเฟสบุ๊คเน้นคอนเท้นต์ให้คนแชร์ IG ชอบรูปสวยขายของมีสไตล์ LineOA ต้องมีโปรโมชั่นโน ๆ ขายของกับคนที่รู้จักกันอยู่แล้ว Tiktok ชอบคลิปสนุกๆ สั้นๆ เนื้อหาไม่เยอะ เล่นใหญ่ Youtube ชอบคลิปสนุกมีสาระ ขายของเนียนๆ (Tie-in)

5) “เปลี่ยนการขายของเป็นการให้คุณค่า” ต้องเล่าในสิ่งที่ลูกค้าอยากฟัง ไม่ใช่เล่าแต่สิ่งที่เราอยากเล่า ต้องมองว่าแพลตฟอร์มที่เราใช้ เป็นเหมือนรายการทีวีที่ต้องนำเสนอหลากหลายกันไป ไม่ใช่นำเสนอแต่โฆษณา อาจจะมีโพ้สต์ที่มีสาระ ให้คุณค่า ให้ความรู้ สลับกับ ความบันเทิง การเสนอขาย คุณค่าอาจจะอยู่ในรูปแบบของความสนุก ความรู้ แรงบันดาลใจ และวิธีคิดใหม่ๆ ได้หมดเลย

6) “ขายด้วยอารมณ์ ไม่ใช่เหตุผล” เวลาขายให้ขายด้วย Solution Benefits ไม่ใช่ Features ต้องบอกลูกค้าให้ได้ว่าซื้อไปแล้วจะได้ ประโยชน์อะไรบ้าง คอนเท้นต์ที่ขายด้วยความรู้สึกจะต้องมีภาพ ประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า เพื่อให้เกิดอารมณ์ร่วมที่นำมาสู่การซื้อ

นี่คือแนวคิดจากคุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหาร Penguin Eat Shabu และเจ้าของเพจ Torpenguin – ผู้ชายขายบริการที่มาให้หลักคิดแบบ IBE เพื่อทำ Digital Transformation ให้กับธุรกิจ เพราะโลกที่เรารู้จักจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปและจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้น

“ทักษะที่ สําคัญที่สุดคือการปรับตัวและการไม่ยึดติดกับสภาพเดิม”

  • ปัจจุบันลูกค้าไม่ได้ต้องการสินค้าที่ One-fit-all อีกต่อไป (Personalization)
  • ธุรกิจเดิมๆ ที่ไม่เปลี่ยนจะถูก Disrupt
  • ธุรกิจที่ไม่มีความต่างจะถูกลูกค้าลืม ต้องหาจุดที่ต่างจากคู่แข่งให้ได้
  • อายุธุรกิจจะสั้นลงเรื่อย ๆ ณ วันนี้ธุรกิจไหนอายุเกิน 3-5 ปีถือว่าเก่งมากแล้ว
  • การรักษาลูกค้าเก่าจะกลายเป็นเรื่องที่จําเป็นหรือสิ่งที่ต้องทํา เนื่องจากต้นทุน การได้มาซึ่งลูกค้าหนึ่งคนสูงขึ้นเรื่อยๆ ฐานข้อมูลลูกค้าเก่าสําคัญมาก (CDP: Customer Data Platform) ซึ่งเป็นอีกระดับของการทํา Customer Relationship Management
  • ผู้นําที่ไม่มีทักษะด้านดิจิทัลจะอยู่ยากมากยิ่งขึ้น

สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร SME to IBE
หลักสูตรยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยฐานคิดนวัตกรรม
เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ https://academy.nia.or.th/site/sme-2/

Post Views: 685