สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  
PPCIL
Public and Private Chief Innovation Leadership

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชน

  การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมสําหรับกลุ่มผู้นํารุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเป่าในการปรับเปลี่ยนชุดความคิดของกลุ่มผู้บริหารระดับกลางที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นไปเป็นผู้นําในระดับสูง ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน ทหารตํารวจ นักการเมือง สื่อมวลชน เพื่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดพร้อมมีทักษะและแนวทางในการวางรากฐานการคิดนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation) ในบริบทของสาธารณะที่เกิดบนความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเป็นการเชื่อมโยงการทํางานระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม สามารถสร้างเครือข่ายผู้นํานวัตกรรมในอนาคตที่จะผลักดันนวัตกรรมเชิงนโยบายให้เกิดผลได้จริง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตร “อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมสำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชน” ที่เน้นกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์และสร้างฐานคิดแบบนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation)
  • เพื่อสร้างศักยภาพผู้นำภาครัฐและเอกชนให้มีแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมโดยพัฒนาความรู้และความเข้าใจ บ่มเพาะทักษะและกระบวนทัศน์ เพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นผู้นำรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดเชิงนวัตกรรม และมีการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ และผลักดันให้กลุ่มผู้นำเหล่านี้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศนวัตกรรมที่ดี
  • เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์เครือข่ายทางนโยบาย (Policy Network) ระหว่างผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชน จนกระทั่งสามารถสร้างเครือข่ายผู้นำองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มที่มีบทบาทในการสร้างนวัตกรรม
  • เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนานโยบายนวัตกรรมที่จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต

สิ่งที่จะได้รับ

  • การสร้างผู้เข้าร่วมให้เป็นผู้นำและผู้บริหารนวัตกรรม (Chief Innovation Leadership)
  • การสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่จากทั้งภาครัฐและเอกชน (Policy Network)
  • การสร้างพื้นที่รังสรรค์ความคิด (Co-creation) ในเชิงนวัตกรรม และพื้นที่ของการสร้างโอกาสในการนำร่องนวัตกรรม (Sandbox) รับมือกับภาวะวิกฤต
  • การผลักดันนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Innovation Policy) ให้เกิดขึ้นได้จริง
  • การร่วมเครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้บริหารระดับตัดสินใจนโยบายและระดับกลางไม่น้อยกว่า 70 คน จาก 5 กลุ่ม โดยมีสัดส่วน ดังนี้

  • ภาครัฐ (Public Sector) 40%
  • ภาคเอกชน (Private Sector) 40%
  • ฝ่ายความมั่นคง (National Security Sector) 10%
  • ภาคการเมือง (Political Sector) 5%
  • ภาคสื่อ (Media Sector) 5%

หลักสูตรนี้เหมาะกับ

  • ผู้นำรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  • ผู้ที่มีความสนใจในสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างเชิงนโยบาย ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • ผู้บริหารระดับตัดสินใจนโยบายและระดับกลาง
  • ผู้สมัครจะต้องมีประสบการณ์ในระดับบริหารไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • มีความเชี่ยวชาญในสายงานและประสบการณ์การพัฒนานวัตกรรม
  • มีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายที่เสนอประกอบการสมัคร มีความสำคัญ มีความเป็นไปได้ และมีผลกระทบสูง

วิธีสมัครเข้าร่วม

  • สมัครได้ที่นี่ เร็วๆ นี้...

ระยะเวลา

  • ตลอดหลักสูตรรวม 50 ชั่วโมง
  • 1 วันต่อสัปดาห์
  • จัดทุกสัปดาห์ตลอด 3 เดือน รวม 10 - 11 สัปดาห์

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ภาษาที่ใช้ : ไทย/อังกฤษ
  • ใบประกาศ : มี

โครงสร้างหลักสูตร
 หลักสูตรมีรูปแบบและเนื้อหาที่มีจุดเด่นด้วยการสร้างความสามารถ ทางความคิด ตัดสินใจ และเชื่อมโยงการสร้างนวัตกรรม ตลอดจน แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายเชิงนวัตกรรม โดยแบ่งโครงสร้าง หลักสูตรออกเป็น 3 เครื่องมือ ดังนี้
1. เครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools)

  ที่เสริมสร้างขีดความสามารถในการคาดการณ์อนาคต เพื่อบ่งชี้โอกาส ความท้าทาย และปัญหาที่สำคัญในอนาคต เพื่อใช้เป็นโจทย์สำหรับการออกแบบนโยบาย ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือย่อยที่สำคัญ ดังนี้

  • การวิเคราะห์แนวโน้มและความไม่แน่นอน (Trend and Uncertainty Analysis): เป็นการเปิดมุมมองเพื่อสำรวจสัญญาณหรือปัจจัยที่จะเป็นสิ่งกำหนดอนาคต การทำความเข้าใจเชิงลึกถึงปัจจัยที่เป็นแนวโน้มและความไม่แน่นอน
  • การพัฒนาฉากทัศน์เพื่อวิเคราะห์ทางเลือกของอนาคตที่เป็นไปได้ (Future Scenario Development): เป็นการนำข้อมูล Future Insight ที่วิเคราะห์ได้มาพัฒนาเป็นภาพหรือสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในอนาคตตามทางเลือกที่เป็นไปได้ต่าง ๆ
  • การจัดการความเสี่ยง (Risk Management): เครื่องมือสำหรับการระบุความเสี่ยงและการประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
  • การจัดการในสภาวะวิกฤต (Crisis Management): การใช้เครื่องมือการจัดการความเสี่ยงเพื่อวางแผนรองรับความท้าทายในอนาคต หรือฉากทัศน์ที่เป็นความท้าทายในอนาคต
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management): การคัดเลือกโอกาสหรือความท้าทายที่เป็นเป้าหมายเชิงนโยบาย และออกแบบการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
2. เครื่องมือสำหรับการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Tools)

  ที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำความเข้าใจกับปัญหาของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และการออกแบบนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว

  • การทำความเข้าใจในเชิงลึก (Empathy): การประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยทำให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงและความต้องการใช้เชิงลึก (Insight) ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถพัฒนานโยบายขึ้นมาตอบโจทย์ได้อย่างมีประสิทธิผล
  • การออกแบบนวัตกรรม (Ideate): การประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้ได้แนวคิดหรือทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหาที่กำหนดและตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
  • ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem): การเข้าใจระบบนิเวศของการพัฒนานวัตกรรม สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือโจทย์ได้อย่างเป็นระบบ และสามารถจัดลำดับความสำคัญในการสรุปและเลือกประเด็นปัญหา
3. เครื่องมือสำหรับการพัฒนาและออกแบบนโยบาย (Policy Design Tools)

  ที่ช่วยเพิ่มทักษะในการออกแบบและพัฒนานโยบายให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  • การออกแบบนวัตกรรม (Policy Design): การเข้าใจถึงหลักการออกแบบนโยบายให้ใช้ได้จริง กับดักในการคิดและขับเคลื่อนนโยบาย รวมถึงการทดสอบตัวแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายที่ได้ออกแบบไว้
  • การพัฒนานโยบายนวัตกรรม (Policy Innovation): สามารถพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายที่แตกต่าง มีผลกระทบสูง มีความเป็นไปได้สูง และมีการเชื่อมโยงภายในอย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • การสื่อสารนโยบาย (Policy Communication): การออกแบบการสื่อสารนวัตกรรมเชิงนโยบายให้ได้รับการสนับสนุน
  • การโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับนโยบาย (Policy Convincing): การออกแบบกระบวนสื่อสารนโยบายนวัตกรรมให้ได้รับการยอมรับ ได้รับศรัทธาทั้งในระยะเริ่มต้นและในระยะยาว

เครื่องมือ

Ignition (เครื่องมือจุดประกายความคิด)

กิจกรรมส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรม สร้างความรู้ที่เข้มแข็งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อทดลองใช้เริ่มต้นคิดค้นนวัตกรรม อาทิ การอบรมภาคทฤษฎี (Training), การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop), การสัมมนา (Seminar), การสัมมนาออนไลน์ (Webinar) การวิจัยภาคสนาม การลงพื้นที่เพื่อสังเกตและเก็บข้อมูล (Field Trip), การพัฒนานวัตกรรมผ่านการแข่งขันทำต้นแบบ (Hackathon) เพื่อร่วมคิดค้นไอเดียและนวัตกรรมใหม่ ๆ และการนำ เสนอ (Presentation) นโยบายนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นและการส่งมอบนวัตกรรมให้กับหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์

Networking (เครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่าย)

การสร้างเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Expert pool (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)

การเสวนาและการบรรยายเนื้อหาจากวิทยากร (Speaker) และผู้นำด้านนวัตกรรม (Innovation Leaders) ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ มากกว่า 30 ท่าน

Foresight (ข้อมูลแนวโน้มอนาคต)

ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดเชิงอนาคต (Future Thinking)ด้วยเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นเป้าหมายที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำ ไปใช้ในการออกแบบ และวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในระดับประเทศระดับอุตสาหกรรม และระดับองค์กร

Capability Assessment & Certification (เครื่องมือกำ หนดมาตรฐานและรับรองนวัตกร)

ระบบติดตามและเก็บผลประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมของบุคคล (Tracking System) เพื่อออกประกาศนียบัตรหรือใบรับรองความรู้

ช่องทางการติดต่อ
ดำเนินการโดย
Post Views: 1,966