สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  
IOP
INNOVATIVE ORGANIZATION PROGRAM

โครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร

  โครงการยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร เพื่อให้มีศักยภาพในการพัฒนา และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นเรื่องสําคัญในปัจจุบันที่ทุกองค์กร ต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน โดยมีกระบวนการที่ครอบคลุมตั้งแต่การสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมการศึกษาวิเคราะห์และประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรอย่างเป็นระยะ และการให้แนวทางการพัฒนาองค์กรที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนโดยมีกรอบการพัฒนาศักยภาพ นวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Model: IOM) ที่ช่วยกําหนดประเด็นสําคัญต่างๆ ในการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ระดับปฏิบัติการ ไปจนถึงระดับโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนให้องค์กรเกิดการสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงในภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อยกระดับศักยภาพการจัดการนวัตกรรมขององค์กร เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรภายในองค์กร ให้มีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทที่องค์กรต้องการ
  • เพื่อให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร โดยการวิเคราะห์และประเมินสถานะศักยภาพด้านนวัตกรรมขององค์กรเบื้องต้น ผ่านเครื่องการประเมินตนเองออนไลน์
  • เพื่อสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนองค์กรนวัตกรรม ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานสนับสนุน และเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร

สิ่งที่จะได้รับ

  • องค์กรมีบุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะในการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรที่เหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางดำเนินงานขององค์กร
  • ได้รับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร เพื่อให้มองเห็นถึงความเสี่ยง และโอกาสในการพัฒนาองค์กรในยังทิศทางที่ต้องการ
  • องค์กรสามารถนำการประเมินสถานะนวัตกรรมขององค์กรไปใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบาย และวางแนวทางดำเนินการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
  • การเป็นองค์กรนวัตกรรมตัวอย่างที่สร้างแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กรให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศ

ระยะเวลา

  • รับสมัครองค์กรเข้าร่วมกิจกรรมปีละ 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ ไปจนถึงผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา นวัตกรรมขององค์กร จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ (Public Sector) และภาคเอกชน (Private Sector)

หลักสูตรนี้เหมาะกับ

  • องค์กรที่สนใจพัฒนาการบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร หรือองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรนวัตกรรม

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ภาษาที่ใช้ : ไทย
  • ใบประกาศ : มี

ค่าใช่จ่าย

  • การประเมินองค์กรออนไลน์ด้วยตนเองและการเข้าประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญไม่มีค่าใช้จ่าย
  • งานบริการที่ปรึกษาต่างๆ มีค่าใช้จ่ายตามกรอบโครงการ

วิธีสมัครเข้าร่วม

  • เข้าร่วมประเมินองค์กรด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์
โครงหลักสูตร
กรอบการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Model: IOM) ให้ความสำคัญในการจัดการ นวัตกรรมต่างๆ ภายในองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
  • ระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Level) พิจารณาเป้าหมายและทิศทางด้านนวัตกรรมขององค์กร รวมถึงความเชื่อมโยงไปสู่ผลลัพธ์ทางนวัตกรรมขององค์กร
  • ระดับปฏิบัติการ (Operation Level) พิจารณากระบวนการและแนวทางการดำเนินงานที่นำไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางนวัตกรรมขององค์กร
  • ระดับสนับสนุน (Foundation Level) พิจารณาสภาพแวดล้อมและความสามารถที่สนับสนุนการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมด้านนวัตกรรมขององค์กรโดยในแต่ละระดับมีการแบ่งรายละเอียดการจัดการองค์กรไปสู่องค์กรนวัตกรรมออกเป็น 8 มิติย่อย ภายในองค์กร ดังนี

1. ระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Level)
1.1. มิติด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม (Innovation Strategy)
1.2. มิติด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ (Business Focus)
2. ระดับปฏิบัติการ (Operation Level)
2.1. มิติด้านกระบวนการ (Innovation Process)
2.2. มิติด้านผลิตผล (Innovation Output)
3. ระดับสนับสนุน (Foundation Level)
3.1. มิติด้านบุคลากร (People)
3.2. มิติด้านองค์ความรู้ (Knowledge)
3.3. มิติด้านวัฒนธรรม (Culture)
3.4. มิติด้านทรัพยากร (Resources)

ขั้นตอนการประเมิน

  กระบวนการยกระดับศักยภาพนวัตกรรมองค์กร มีขั้นตอนการบริการ 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. การประเมินสถานะการบริหารจัดการนวัตกรรมขององค์กรด้วยตนเองเพื่อให้ทราบถึงบริบทนวัตกรรมขององค์กรก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นการช่วยให้มองเห็นถึงโอกาสและความเสี่ยงในการพัฒนานวัตกรรมต่อไป
2. การเข้าตรวจสอบประเมินองค์กรโดยผู้เชี่ยวชาญการจัดการนวัตกรรมองค์กร และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อเสนอแนะการจัดการความเสี่ยง และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3. บริการให้คำปรึกษาในการวางแผนพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม (Training) ฝึกปฏิบัติ(Workshop) รวมถึงการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แชร์ประสบการณ์ระหว่างองค์กร (Seminar) เพื่อสร้างองค์กรนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทที่องค์กรต้องการ

เครื่องมือ

Ignition (เครื่องมือจุดประกายความคิด)

การจัดกิจกรรมสัมมนา (Seminar) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์ประสบการณ์ระหว่างองค์กร

Expert pool (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)

การเข้าประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อระบุโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ(On-site Assessment) และมีที่ปรึกษา (Consult) ให้คำ ปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรมองค์กร (Development Program)

IOP Assessment & Certification (โมเดลพัฒนา ศักยภาพนวัตกรรมองค์กร)

การประเมินศักยภาพนวัตกรรมขององค์กรด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Online Self Evaluation)

ช่องทางการติดต่อ
ดำเนินการโดย
Post Views: 1,655