สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

ระดับความพึงพอใจ : ตัวชี้วัดคุณภาพบริการ

จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Silver societies) เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้น ประดิษฐ์ ยารักษาโรค วัคซีน อุปกรณ์การแพทย์ แพลตฟอร์มช่วยการวินิจฉัย และแพลตฟอร์มที่ช่วยการดูแลสุขภาพ โดยมุ่งหวังให้บริการทางการแพทย์และสุขอนามัยมีคุณภาพที่ดี และสามารถกระจายโอกาสการเข้าถึงในทุกระดับ แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจทั่วทั้งโลกกำลังซบเซา ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 ทำให้หน่วยงานเกี่ยวข้องกับบริการทางการแพทย์และสุขอนามัยทั้งภาครัฐและเอกชนสร้างแรงผลักดันให้นักวิจัย นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน และนวัตกร เร่งพัฒนาการให้บริการและระบบสุขภาพอนามัยที่ยั่งยืนในหลากหลายโครงการ โดยใน 3 ปีที่ผ่านมาได้งบประมาณจัดสรรเกี่ยวกับการแพทย์ ระบบสาธารณสุข และสุขภาพอนามัยมากกว่า 430,000 ล้านบาท ซึ่งแสดงว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการยกระดับบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย และมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่จำเป็นอย่างยิ่ง การแพทย์กับสุขภาพอนามัยมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยสอดคล้องกับวิถีขีวิตของคนในสังคม ซึ่งสิ่งที่ใช้วัดความสำเร็จที่ได้รับความนิยม คือ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ เน้นรูปแบบการให้บริการที่ยึดลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ ซึ่งแต่ละประเทศจะนำผลลัพธ์ระดับความพึงพอใจนี้มาเป็นข้อพิจารณาในการจัดทำแผนนโยบายและแผนปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะครอบคลุมตั้งแต่เรื่อง เทคนิคการรักษา การให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน สถานที่ ความสะดวกสบาย ไปจนถึงเรื่องการสร้างสมดุลระหว่างความคาดหวังและประสบการณ์ความประทับใจ แนวทางการพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัยด้วย “ระดับความพึงพอใจ” จะสามารถระบุจุดแข็ง จุดอ่อนของการบริการสุขภาพตามความคาดหวังของผู้ป่วย […]

STEAM4INNOVATOR

หลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมกลุ่มเครือข่ายผู้เข้าร่วมโครงการ โดยศักยภาพด้านธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการจะถูกบูรณาการเข้ากับความรู้ความเข้าใจทางด้าน STEAM ได้แก่  วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปะ (Art) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หรือที่เรียกรวม 5 วิชาว่า “สตีมศึกษา” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานที่มีมิติของการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอยู่ด้วยอย่างสมบูรณ์