สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

AGTECH AI

Synergy for AgriFuture

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AgTech AI)

กิจกรรมบ่มเพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โท เอก รวมไปถึงศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย และนักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรมีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และมีความสามารถในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรมเทคโนโลยี   เชิงลึกแก้ปัญหาภาคการเกษตรไทย นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านภาคการเกษตรไปสู่การทำเกษตรแบบแม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ ซึ่งสอดคลัองกับนโยบายเกษตร 4.0 และการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียวของรัฐบาล (BCG Model) ของรัฐบาล

ระยะเวลา

16 สัปดาห์

ใบประกาศ

มี

ภาษาที่ใช้

ไทย/อังกฤษ

ค่าใช้จ่าย

ไม่มี

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษา นักวิจัย และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย มีความสามารถพร้อมเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  • เพื่อสร้างความสามารถทางเทคโนโลยี (Technological Capability) โดยเฉพาะความสามารถในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงลึกและสามารถยกระดับและเปลี่ยนผ่านภาคการเกษตรไปสู่การทำเกษตรแบบแม่นยำ
  • เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AgTech AI Consortium) ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของที่ปรึกษาเทคโนโลยีเชิงลึกด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศที่เข้าใจแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีสู่การสร้างนวัตกรรมการเกษตร

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักศึกษามหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โท เอก รวมไปถึงศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย และนักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
  • จำนวนภูมิภาคละ 5 ทีม รวมผู้เข้าร่วม 15 ทีม (มีสมาชิกทีมละ 3 - 5 คน โดย 1 คนของแต่ละทีมจะมีคุณสมบัติสำคัญเกี่ยวกับทักษะด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดก็ได้อย่างดี)

  • สิ่งที่จะได้รับ

    Desirable

  • แนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ด้วยเครื่องมือที่ช่วยให้ดข้าถึงคุณค่าที่จะส่งมอบให้ลูกค้า (Value preposition) ทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ จนนำมาสู่การออกแบงานที่เข้าถึง/น่าใช้งาน (Useability)

  • Practical

  • การสร้างเสริมความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ทำให้สามารถต่อยอดการสร้างนวัตกรรม ภายใต้ต้นทุนและทรัพยากรที่มีอยู่/จัดหาได้ ให้เกิดความเป็นไปได้จริง

  • Feasible

  • การเรียนรู้เรื่องมุมมองความเข้าใจแนวโน้มการขยายธุรกิจในระดับสากล และได้ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในระบบนิเวศทำให้มีประสบการณ์เพิ่มพูนสู่การประกอบธุรกิจที่เติบโตได้อย่างยั่งยืน

  • โครงสร้างหลักสูตร

    AGTECH AI

    Synergy for AgriFuture

    • โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมการเกษตร และปัจจัยในการขับเคลื่อนภาคเกษตร (Agriculture Stakeholders Insights)
    • ทฤษฎีการทำงานแบบ Lean Startup และ Agile
    • ออกแบบการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการ Design Thinking
    • กระบวนการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบกับตลาดจริง (Minimum Viable Product and Customer Validation)
    • เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการและพื้นฐานทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการ
    • การเขียนแผนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือ Lean Canvas
    • เครื่องมือวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน (5 Forces Model) และทำความเข้าใจโมเดลธุรกิจ
    • ทักษะและเทคนิคการสื่อสารเพื่อความสำเร็จ (Effective Communication)
    • จากเทคโนโลยีสู่การค้าสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตร (From Technology to Commercialization for AgTech Startup)
    • การค้าและการตั้งราคาสินค้า (Commercialization and How to price your product)
    • ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันงานวิจัยสู่การนำไปใช้เชิงพาณิชย์

    สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านการเกษตรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยพื้นฐานทางด้านการเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์วัดต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ การฝึกปฏิบัติด้วยการทำโครงงาน ซึ่งผสมผสานกระบวนการคิดนวัตกรรม เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานในภาคการเกษตร

    • Basic Concept
    • Introduction to Google Co-Lab
    • Introduction to Image Processing
    • Introduction to OpenCV, NumPy and Matplotlib
    • Image Processing Techniques
    • Big Data
    • Data Preprocessing
    • Feature Extraction
    • Machine & Deep Learning
    • Introduction to Machine Learning
    • Introduction to Pandas, Keras and Scikit-learn
    • Machine Learning Techniques
    • Best Practices for Predictive Model Building
    • Tensorflow

    เครื่องมือ

    Ignition (เครื่องมือจุดประกายความคิด)

    กิจกรรมส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรม สร้างความรู้ที่เข้มแข็งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อทดลองใช้เริ่มต้นคิดค้นนวัตกรรมอาทิ กิจกรรมค่ายอบรมให้ความรู้ (Camp), การอบรมภาคทฤษฎี (Training) และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 

    Incubation (เครื่องมือบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม)

    เป็นเครื่องมือสร้างธุรกิจตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคคลในการคิดค้นและวางแผนการดำเนินธุรกิจ การคิดค้นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เพิ่มกำไรอย่างก้าวกระโดดการบริหารจัดการที่ควบคุมได้สร้างรากฐานการประกอบกิจการเพื่อการเติบโตในอนาคต

    Networking (เครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่าย)

    การสร้างเครือข่ายและช่องทางการนำ เสนอแผนธุรกิจเพื่อการขยายฐานกิจการ (Pitching & Demo)

    Expert pool (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)

     มีระบบพี่เลี้ยง (Mentor) สำ หรับให้คำ ปรึกษาและการสนับสนุน

    Capability Assessment & Certification (เครื่องมือกำ หนดมาตรฐานและรับรองนวัตกร)

     ระบบติดตามและเก็บผลประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมของบุคคล(Tracking System) เพื่อการออกแบบแผนพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมเพื่อยกระดับความสามารถเฉพาะ ราย พร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ที่เรียนจบหลักสูตร

    ช่องทางการติดต่อ
    ดำเนินการโดย
    Post Views: 1,270