สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

10 โรงเรียนนวัตกรรมยุคใหม่! ที่มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์
ด้วยหลักสูตร “STEAM4INNOVATOR ”

       จาก NIA Academy (สถาบันวิทยาการนวัตกรรม) ที่เน้นสร้างครูผู้สอนให้เป็น “ผู้สร้างนวัตกร” และสร้างห้องเรียนให้เป็น “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมสำหรับเยาวชน” เพื่อกระตุ้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมบนฐาน STEAM ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปศาสตร์ (Arts) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) พร้อมด้วยแนวคิดทางด้านธุรกิจอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้เกิดทักษะในการคิดค้นนวัตกรรมและการประกอบการในอนาคต

       ในปีนี้ NIA ตั้งเป้าให้เกิด 10 รูปแบบห้องเรียนนวัตกรรม กับ 50 ครูแกนนำเพื่อส่งต่อความรู้และทักษะสู่เยาวชนในโรงเรียนมากกว่า 2,000 คน เพื่อพัฒนาจนเกิด 50 ไอเดียสร้างนวัตกรรม และ 5 ผลงานนวัตกรรมที่ทำจริง บนโจทย์สุดท้าทายของสนามการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ STEAM4INNNOVATOR

สอนในวิชาหลัก (core subject) ตาม 8 รายวิชาพื้นฐาน

1. โรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี

รูปแบบการจัดห้องเรียนนวัตกรรมสำหรับเยาวชนทุกระดับชั้น

ประยุกต์หลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ามาใช้ในรายวิชา ACT Robotics and Ai เพื่อสร้างวิธีคิดและทักษะความเป็นนวัตกรให้กับนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย นอกจากนี้ยังมีการปรับใช้ในแผนการเรียนนวัตกรรมอัจฉริยะ และแผนการเรียนวิทยาการดิจิทัล เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดและต่อยอดผลงานจากสิ่งที่มีอยู่ได้

สอนในรายวิชาเพิ่มเติม

2. โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล”

รูปแบบห้องเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ชุมชน

ประยุกต์หลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ามาในรายวิชา Independent Study และโครงงานวิทยาศาสตร์ในการหาปัญหาและเรื่องราวเชิงลึกจากคนในชุมชนเพื่อออกแบบนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในชุมชนพื้นที่จังหวัดพังงาที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและการท่องเที่ยว

3. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี รูปแบบห้องเรียนนวัตกรรมในรายวิชา Independent Study (IS) เข้มข้น 

ประยุกต์หลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ามาในกระบวนการของรายวิชา Independent Study (IS) ที่นักเรียนจะได้ลงพื้นที่หาข้อมูลเชิงลึกและออกแบบนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งเพิ่มความเข้มข้นด้วยการมีช่วงเวลาพิเศษนอกเหนือจากวิชาเรียนที่นักเรียนสามารถนำโครงงานของตนมาพูดคุย ขอคำปรึกษาและพัฒนาต่อได้จากครูโค้ชนวัตกร 

4. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

รูปแบบห้องเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมบนพื้นฐานของ STEAM ยกกำลัง 2

มุ่งเน้นยกระดับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ผ่านกุญแจสำคัญคือ STEAM ยกกำลัง 2 ที่นอกจากจะมี Science Technology Engineering Art และ Mathematics แล้ว ยังเสริมสร้างทักษะด้านสังคม (Social) การสื่อสารกับผู้อื่นทั้งไทย (Thai) และอังกฤษ (English) มีความพยายาม (Attempt) ที่สร้างและพัฒนา และเป็นคนเก่งอย่างมีศีลธรรม (Morality)

5. โรงเรียนศึกษานารี

รูปแบบ Lab Classroom บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเรียนการสอนรายวิชา Independent Study (IS) ผนวกกับหลักสูตร STEAM4INNOVATOR ที่จะทำให้นักเรียนเห็นกระบวนการในการสร้างนวัตกรรมที่ครอบคลุมในทุกขั้นตอนก่อนที่จะออกมาเป็นผลงานจริง โดยเน้นพัฒนาผลงานของนักเรียนบนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ และ Coding ที่โรงเรียนมีหลักสูตรนี้เป็นของตนเอง

6. โรงเรียนแสงทองวิทยา

รูปแบบห้องเรียนผู้เรียนสมรรถนะสูงตามความถนัดคณะและวิชาชีพ

เน้นการพัฒนานักเรียนตามความถนัดและเตรียมความพร้อมสู่การเข้าเรียนในคณะต่างๆ จึงได้มีการประยุกต์หลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ากับการเรียนการสอนวิชาโครงงานของแต่ละสายการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดแบบนวัตกรที่มองเห็นปัญหาและสร้างสรรค์ไอเดียที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 

สอนในกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์ หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

7. โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(โครงการ วมว. – ม.ทักษิณ)

รูปแบบห้องเรียนนวัตกรรมในหลักสูตรโครงการ วมว.

เสริมความเข้มข้นในห้องเรียนพิเศษฐานวิทยาศาสตร์ ด้วยการประยุกต์หลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ามาในแผนการสอน เน้นการพัฒนาผลงานของนักเรียนจากงานวิจัยจนสามารถนำไปต่อยอดในชีวิตจริงได้อย่างมีคุณภาพ

8. โรงเรียนชลประทานวิทยา

รูปแบบห้องเรียนนวัตกรรมอิสระนอกเวลาเรียน

นำหลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับห้องเรียนวันอิสระวันเสาร์ของนักเรียนในแผนการเรียนแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Integrated Mathematics and Technology Program) แบบเต็มเวลา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้นอกเหนือจากรายวิชาหลัก ให้นักเรียนได้เรียนรู้ คิดไอเดีย และทดลองทำจริง อีกทั้งยังมีการปรับใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเลือกสำหรับนักเรียนในแผนการเรียนอื่นๆ อีกด้วย

9. โรงเรียนกำเนิดวิทย์

รูปแบบโรงเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมแบบบูรณาการเชิงพื้นที่

ประยุกต์หลักสูตรเข้าไปในรายวิชาชุมนุม มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลจากพื้นที่จริง เพื่อนำมาสร้างสรรค์ไอเดียและลงมือทำนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสามารถผลิตนวัตกรรมออกสู่ตลาดได้จริง

10. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

รูปแบบห้องเรียนนวัตกรรมในกิจกรรมชุมนุม

ประยุกต์หลักสูตร STEAM4INNOVATOR เข้ามาใช้ในกิจกรรมชุมนุม สําหรับนักเรียนห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ โดยการนํากระบวนการ 4 ขั้นตอน ไปใช้ในการทําโครงงานที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

10 โรงเรียนนวัตกรรมยุคใหม่ ต้นแบบของสนามการเรียนรู้รูปแบบใหม่สำหรับนักเรียนที่เน้นการเรียนรู้จริงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ เพื่อสร้าง Cluster แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาผลงานนำมาเสนอเป็นตัวอย่างเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนรุ่นต่อไป

สนใจเข้าร่วมโครงการ“สนามการเรียนรู้นวัตกรรมสำหรับเยาวชน”
ติดตามได้ที่ https://academy.nia.or.th/site/steam4innovators/

Post Views: 8,551