สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  
SID FOR SE
SOCIAL INNOVATION DRIVING UNIT FOR SOCIAL ENTERPRISE

หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) สำหรับพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม

 นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สําคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทย ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึง บริการและสวัสดิการของรัฐนําไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมลํ้าและความไม่เสมอภาคในการนํานวัตกรรมมาใช้เพื่อการแก้ปัญหาสังคมนั้น อาจเป็นกระบวนการ เครื่องมือการดําเนินงาน หรือสิ่งต่างๆ ที่จะทําให้สังคมดีขึ้น และตอบโจทย์ ความต้องการของสังคมโดยไม่จํากัดขอบเขตหรือความหมายในการดําเนินงาน เพื่อให้เกิดการคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ

ระยะเวลา

8 เดือน

ใบประกาศ

มี

ภาษาที่ใช้

ไทย

ค่าใช้จ่าย

ไม่มี

สมัครเข้าร่วมได้ที่

ติดตามการรับสมัครได้ผ่านทางเว็บไซต์
bit.ly/BITSocial2021_Interest

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการแก้ปัญหาสังคมสามารถต่อยอดแนวความคิดนวัตกรรม พัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและชุมชนที่นำนวัตกรรมไปแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการการบ่มเพาะเพื่อมุ่งเสริมสมรรถนะ ยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถภายใต้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) ซึ่งจะช่วยลดอัตราความล้มเหลวในช่วงแรกของการจัดตั้งธุรกิจ
  2. เพื่อสร้างนวัตกรด้านสังคมไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาในมิติด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการลดปัญหาความเหลื่อมลํ้า ในสังคม ด้วยการนำนวัตกรรมเข้าไปแทรกแซง
สิ่งที่จะได้รับ
  1. รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert & Mentor) รับความรู้และคำปรึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์จริง
  2. กิจกรรมบ่มเพาะไอเดีย (Workshop Incubator) ติดอาวุธเสริมสร้างความพร้อมเฉพาะจุด
  3. เครือข่าย (Partner) พบกับเหล่านวัตกรที่จะมาช่วยเชื่อมโยงงาน เครือข่ายขยายผลให้กว้างขึ้น
  4. โอกาสในการขอรับทุนพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมจาก สนช.

กลุ่มเป้าหมาย :

  • วิสาหกิจเพื่อสังคม
  • วิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อสังคม (social startup)
  • ผู้สนใจในธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม

โครงการนี้เหมาะกับ :​

  • คนที่มีไอเดียในการแก้ปัญหาสังคม เข้าใจนวัตกรรมเพื่อสังคม พร้อมเรียนรู้และลงมือทำจริงไปกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่จะมาให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดโครงการ งานนี้พร้อมแล้วที่จะช่วยพาคุณติดอาวุธ เสริมแนวคิด ต่อยอดไอเดียไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมั่นคง

โครงสร้างกิจกรรม
ดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะเพื่อมุ่งเสริมสมรรถนะ ยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่สนใจให้สามารถพัฒนาตนเองเพื่อเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่

  การแสวงหาผู้ประกอบการและบุคคลที่สนใจเพื่อเข้าร่วมโครงการ

  อบรมหรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการในด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อสังคม เช่น ทฤษฎีความเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ทางสังคม และ BMC เป็นต้น ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการหรือผู้ที่สนใจในนวัตกรรมเพื่อสังคม

  คัดเลือกผู้ประกอบการและบุคคลที่สนใจที่มีศักยภาพเพื่อนำมาบ่มเพาะ และ/หรือ เสริมสมรรถนะ และการให้คำ ปรึกษา (Mentor) เพื่อพัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือ โครงการนำ ร่องเพื่อทดลองและปรับปรุง ตลอดจนพัฒนาแนวคิดจนเกิดความมั่นใจ เตรียมความพร้อมสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือวิสาหกิจที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและชุมชน

  จัดกิจกรรมนำ เสนอแนวคิดหรือโครงการที่ผ่านการบ่มเพาะแล้ว

  สนับสนุนในการยื่นของรับทุนจาก สนช.

  กิจกรรมสร้างเครือข่ายและระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม

เครื่องมือ

Ignition (เครื่องมือจุดประกายความคิด)

อบรมหรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการในด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อสังคม และ/หรือเสริมสมรรถนะให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดเลือก

Incubation (เครื่องมือบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม)

สร้างธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคคลในการคิดค้นและวางแผนการดำ เนินธุรกิจผ่านการนำ เสนอแนวคิดหรือโครงการที่ผ่านการบ่มเพาะ

Expert pool (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)

ให้คำปรึกษาจากที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง (Mentor) แก่ผู้เข้าร่วมโครงการNetworking (เครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่าย): สร้างเครือข่ายและระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม

Fund (กลไกการสนับสนุนด้านเงินทุน)

เพื่อการเริ่มต้นธุรกิจ สำ หรับผู้เข้าร่วมโครงการยื่นข้อเสนอโครงการต่อ สนช. โดยผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย ได้สิทธิ์ยื่นขอเข้าร่วมชิงทุนสนับสนุนสูงสุดถึง1.5 ล้านบาท จากสำ นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

ช่องทางการติดต่อ
ดำเนินการโดย
Post Views: 1,126