สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

Policy Innovation นวัตกรรมนโยบาย ที่ทำได้จริงถึง 6 มิติ

ทำความรู้จัก Policy Innovation นวัตกรรมนโยบาย ที่ทำได้จริงถึง 6 มิติ
จาก NIA หรือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ก่อนจะเข้าถึง มิติต่างๆ เรามาเริ่มต้นทำความรู้จัก นวัตกรรมนโยบาย หรือ Policy Innovation กันก่อน

Policy Innovation คือ นวัตกรรมในกระบวนการทางนโยบาย (Policy Process) การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Mindsets & Attitude) และการใช้หรือสร้างเครื่องมือ (Utilization & Building of Policy Tools) ในการได้มาซึ่งนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ในรูปแบบใหม่ (Newness) ที่นำไปสู่การปรับใช้ได้จริง (Policy Deployment) 

โดยการสร้างนวัตกรรมนโยบายจะอาศัยแนวทางการคาดการณ์และการคิดเชิงอนาคต (Foresight) ร่วมกับหลักการออกแบบนโยบาย (Policy) ที่ต้องเข้าใจบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้สร้างแนวปฏิบัติของความร่วมมือรูปแบบใหม่ (Collaboration)

โดย 3 องค์ประกอบสำคัญในการทำ Policy Innovation ที่ดีควรจะประกอบด้วย
1. Desirability สร้างนโยบายที่เป็นที่ต้องการ
2. Feasibility สร้างนโยบายที่คุ้มค่าที่จะทำ
3. Impact สร้างนโนบายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

เมื่อเข้าใจว่า Policy Innovation หรือนวัตกรรมนโยบายคืออะไรแล้ว

เรามาดู มิติต่าง ๆ ของนวัตกรรมโยบาย ว่าได้สร้าง Impact ในมิติทั้ง 6 ดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมกระบวนการการมีส่วนร่วม (Participatory Process Innovation)

เช่น ‘Elect projects’ แพลตฟอร์มที่ช่วยให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วม และทำให้การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน หรือเมืองอาบูดาบีที่ใช้ Social listening ในการรับฟังประชาชนของกรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

2. นวัตกรรมข้อมูล (Data-Driven Innovation)

เช่น ประเทศสิงคโปร์เปิดพื้นที่ให้มีการทำ Sandbox รถยนต์ไร้คนขับ เก็บข้อมูลเพื่อนำไปสู่การออกกฎระเบียบหรือกฎหมายเพิ่มเติมสำหรับรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ โดยประเทศสิงคโปร์ ได้มีการทดลองในสนามทดลองแบบปิดก่อนนำไปทดลองบนถนนสาธารณะในบางพื้นที่ โดยจำกัดความเร็วในการขับเคลื่อน และกำหนดให้ต้องมีผู้ขับขี่สำรองอยู่ในตัวรถตลอดเพื่อเข้าควบคุมรถได้ในกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งกำหนดให้ผู้ควบคุมรถในระหว่างการทดลองต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนอย่างน้อย 50 ชั่วโมง และรถ AV ต้องผ่านการทดลองในพื้นที่ปิด 5,000 ก.ม. ก่อนนำไปทดลองบนถนนสาธารณะ โดยต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของรถ AV ในระหว่างการทดลอง หรือ Sandbox ที่กำลังพัฒนาในจังหวัดภูเก็ต ที่มีการนำไปสู่การทำนโยบายพัฒนาเมืองในอนาคตเป็นต้น

3. นวัตกรรมทางการเมือง (Political Innovation)

เช่น การเลือกตั้งออนไลน์ (I-Voting) หรือ ระบบลงคะแนนเลือกตั้งดิจิทัลในการเลือกตั้งระดับชาติ ซึ่งประเทศเอสโตเนีย ไม่ได้มองเพียงเรื่อง Hardware, Software หรือ Security แต่การพัฒนานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและยอมรับกระบวนการนั้น ๆ ด้วย

4. นวัตกรรมการติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation Innovation)

เช่น Chiangmai City Lab ให้ระบบบริหารส่วนท้องถิ่นมีช่องทางในการทำงาน Monitor และประเมินความพึงพอใจของประชาชนหรือโครงการ Live Healthy SG ที่คอย Monitor และประเมินสุขภาพของประชาชน

5. นวัตกรรมด้านงบประมาณและการลงทุน (Budgeting & Investment Innovation)

เช่น ระบบที่เชื่อมโยงระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างกับการบริหารจัดการการคลังของภาครัฐ หรือ SMART Visa วีซ่าประเภทพิเศษที่ต้องการดึงดูดบุคลากร ทักษะสูงและนักลงทุน ที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
โดย สนช. หรือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ SMART VISA เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพในภูมิภาคอาเซียน (Startup Hub of Southeast Asia) โดยทำหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของผู้ยื่นขอสมาร์ทวีซ่าสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร นักลงทุน และสตาร์ทอัพที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 ประเภท รวมทั้ง พิจารณาให้การรับรองคุณสมบัติของสตาร์ทอัพ ในกรณีที่ได้รับการร่วมลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ

นอกจากนี้ สนช. ยังร่วมมือกับภาคเอกชน ในการขยายโอกาสการได้รับสิทธิและประโยชน์สมาร์ทวีซ่าสำหรับสตาร์ทอัพต่างชาติ โดยได้แต่งตั้งให้ ทรู อินคิวบ์ เป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่ได้รับการรับรองจาก สนช. สามารถให้การรับรองคุณสมบัติของสตาร์ทอัพต่างชาติที่เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ของทรู อินคิวบ์ ซึ่งจะต้องเป็นสตาร์ทอัพต่างชาติที่ยื่นขอสมาร์ทวีซ่า ประเภท SMART “S” และต้องผ่านการรับรองและมีคุณสมบัติครบถ้วน จะได้รับสิทธิและประโยชน์สมาร์ทวีซ่า เช่น ระยะเวลาวีซ่าครั้งแรก 1 ปี และขยายสูงสุดไม่เกิน 2 ปี/ครั้ง ขยายเวลารายงานตัวเป็นทุก 1 ปี (จากปกติ 90 วัน) ทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรองโดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ได้รับยกเว้นการขอ Re-entry Permit ในการเข้าออกประเทศไทย รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับครอบครัวในการพำนักในประเทศไทย เป็นต้น

วีซ่าแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. SMART “T” (Talents) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. SMART “I” (Investors) ลงทุนในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการทำธุรกิจและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  3. SMART “E” (Executives) ผู้บริหารระดับสูงที่ทำงานในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการทำธุรกิจและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  4. SMART “S” (Startups)

6. นวัตกรรมบริการสาธารณะ (Public Service Innovation)

เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ Oyster Card ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบัตรที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วย Public Transport เชื่อมต่อการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนทุกสายทุกประเภทเข้าด้วยกัน

ทั้งหมดนี้คือ Policy Innovation หรือ นวัตกรรมนโยบาย จาก NIA ทั้ง 6 มิติ มาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ

Policy Innovation (นวัตกรรมนโยบาย) แนวคิดที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของคนไทยเพิ่มเติมได้ที่

https://academy.nia.or.th/site

Post Views: 2,568