เป็นแพลตฟอร์มสําคัญของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านนวัตกรรมช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการยุคใหม่ทั่วประเทศสามารถเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีการลงทุนเพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในประเทศ และในระดับสากลสูงขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีแบบแผน รวมทั้งยังเป็นผู้ประสานงานเชื่อมต่อ กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในด้านนโยบายและในด้านวิธีการดําเนินงาน เพื่อให้เกิดระบบนวัตกรรมและวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมต่อการสรรสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนภารกิจของสําานักงานฯ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ
สถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) มุ่งสร้างคนให้มีความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม จึงเชื่อมั่นในพลังนวัตกรที่มีอยู่ในทุกคน ตั้งแต่กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ใหญ่ ทุกระดับ ทั้งภาครัฐภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาคการเมือง และภาคสื่อมวลชน ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเป็น INNOVATOR T.R.I.B.E. : เครือข่ายนวัตกรคิดเคลื่อนนวัตกรรม
INNOVATOR T.R.I.B.E. คือ กลุ่มคนที่มีความนิยมในการใช้ชีวิตและสร้างแนวทางการทํางานในรูปแบบที่แตกต่าง แสวงหาและสรรสร้างนวัตกรรมที่เต็มไปด้วยพลังแห่งความสร้างสรรค์ที่นําไปสู่การพัฒนาธุรกิจและกระบวนการทางสังคมที่ไร้กรอบจํากัดความสามารถเครือข่ายกําลังคนที่มีคุณลักษณะนวัตกร ทั้งในกลุ่มเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตในการสร้างนวัตกรรมกลุ่มผู้บริหารเพื่อขับเคลื่อนระดับนโยบาย และกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาศักยภาพในแบบฉบับของ T.R.I.B.E. ที่ต้องช่างคิดปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อการเติบโต เข้าใจความต้องการ เชื่อมโยงความสามารถและลงมือทําาจริง ในรูปแบบของสถาบันวิทยาการนวัตกรรม ประกอบด้วยคุณลักษณะที่ถอดมาจากคํา าว่ า “T.R.I.B.E.”
มุ่งพัฒนาเยาวชนที่สนใจปลุกศักยภาพนวัตกรและเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไกการพัฒนา 2 กลุ่ม (2S) ประกอบด้วย
พัฒนาเยาวชนตั้งแต่ระดับประถม มัธยม อาชีวะ จนถึงนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และคนรุ่นใหม่วัยเริ่มต้นการทำงานอายุระหว่าง 7 – 30 ปี ผ่านเครื่องมือที่หลากหลายตามกลุ่มวัย อาทิ ฐานการเรียนรู้ (Learning Station) ห้องเรียนนวัตกรรม (STEAM4i@School) ค่ายนวัตกรรุ่นเยาว์ (Innovator Camp) และการฝึกงานเป็นผู้ประกอบการ (Founder Apprentice)
บ่มเพาะและเร่งสร้างวิสาหกิจเริ่มต้นในกลุ่มเยาวชนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง (Mentor)
ผู้ประกอบการที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมเสริมสร้างความรู้การจัดการนวัตกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
องค์กรภาครัฐและเอกชนที่ต้องการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน บนฐานของการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร
ผู้นำรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตั้งแต่ระดับโครงสร้างเชิงนโยบายของประเทศลงมาถึงระดับนโยบายองค์กรเพื่อขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม