สถาบันวิทยาการนวัตกรรม  

AGROWTH:

GLOBAL AGTECH ACCELERATION PROGRAM

หลักสูตรเร่งสร้างการเติบโตสตาร์ทอัพ
ด้านการเกษตรระดับนานาชาติ

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดหลักสูตรเร่งสร้างการเติบโตสตาร์ทอัพด้านการเกษตรระดับนานาชาติขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ สตาร์ทอัพด้านการเกษตรจากทั้งในและต่างประเทศ โดยการออกแบบหลักสูตรผ่านกระบวนการสำ คัญคือ การพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Proof of Concept, PoC) บนพื้นที่ทำ งานจริงตามความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์และสร้างการแก้ปัญหาแนวทางใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยีการเกษตร ควบคู่ไปกับการรับคำ ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมเกษตรและภาคธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาธุรกิจ การวางกลยุทธ์ การตลาด การบริหารจัดการการเงินและความเป็นผู้นำ ต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ ตลอดจนการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความพร้อมต่อการขยายธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในการดำ เนินงานที่ผ่านมาบริษัทที่ร่วมสนับสนุนการดำ เนินงาน อาทิ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำ กัด และศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ระยะเวลา

12 สัปดาห์

ใบประกาศ

มี

ภาษาที่ใช้

ไทย/อังกฤษ

ค่าใช้จ่าย

ไม่มี

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • เพื่อสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพด้านการเกษตรทำ งานร่วมมือกับองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อเตรียมพร้อมสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้สามารถขยายผลทางธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศได้

หลักสูตรนี้เหมาะกับ

  • เผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นถึงซีรีส์ B
  • มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พร้อมทดสอบกับตลาด (PoC) หรือกำลังมองหาโอกาสขยายผลทางธุรกิจกับตลาดที่ใหญ่ขึ้น
  • ผู้ประกอบการและสมาชิกในทีมสามารถเข้าโปรแกรม 12 สัปดาห์ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ (Proof of Concept: PoC) ร่วมกับองค์กรภาคธุรกิจได้ (Co-create with Corporate Partners)
  • สตาร์ทอัพที่พยายามแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ (Problem Statement) เช่น

สิ่งที่จะได้รับ

ได้พัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพร่วมกับองค์กรภาคเอกชน (Co-create with Corporate Partners)

ได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพไปพร้อมกับสตาร์ทอัพทีมอื่นทั้งในและต่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการ (Cohort-Based Learning)

ได้มีโอกาสเข้าถึงนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเกษตร (Access to Investors and Experts)

ได้รับคำแนะนำด้านการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Consulting)

ได้รับโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดในการทำการค้าภาคอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศไทย (Maximize Your Commercial Capability)

โครงสร้างหลักสูตร

AGROWTH : GLOBAL AGTECH ACCELERATION PROGRAM

  วางกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพขยายผลลัพธ์และเติบโตธุรกิจได้ ด้วยการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ

  • การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ (Business Model Analysis)
  • การให้คำแนะนำทางด้านการเงิน (Financial Advisory)
  • การทำสไลด์นำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุนและเวทีนำเสนอ (Investor Deck & Pitch Desk)
  • การนำเสนอเรื่องราว (Storytelling)

  สำรวจ วิเคราะห์และทดสอบความเป็นไปได้ของธุรกิจ (Proof of Concept: PoC) ผ่านการทำงานและสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและภาคธุรกิจ

  ทำความเข้าใจตลาดในประเทศไทยและสำรวจความเป็นไปได้ต่อการสร้างความร่วมมือผ่านการทำความรู้จักหน่วยงานและนักลงทุนที่มีบทบาทสำคัญในวงการอุตสาหกรรมเกษตร

เครื่องมือ

Ignition (เครื่องมือจุดประกายความคิด)

กิจกรรมส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรม สร้างความรู้ที่เข้มแข็งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อทดลองใช้เริ่มต้นคิดค้นนวัตกรรมอาทิ กิจกรรมค่ายอบรมให้ความรู้ (Camp), การอบรมภาคทฤษฎี (Training) และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 

Acceleration (เครื่องมือเร่งรัดการเติบโต)

เป็นเครื่องมือเร่งสร้างความเข้มแข็งและกำหนดแผนที่การเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมการระบุโอกาสในการขยายกิจการและการเข้าถึงแหล่งทุนตลาดและความร่วมมือภายในประเทศ

Networking (เครื่องมือเชื่อมโยงเครือข่าย)

การสร้างเครือข่ายและช่องทางการนำ เสนอแผนธุรกิจเพื่อการขยายฐานกิจการ (Pitching & Demo)

Expert pool (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)

 มีระบบพี่เลี้ยง (Mentor) สำ หรับให้คำ ปรึกษาและการสนับสนุน

Capability Assessment & Certification (เครื่องมือกำ หนดมาตรฐานและรับรองนวัตกร)

 ระบบติดตามและเก็บผลประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมของบุคคล(Tracking System) เพื่อการออกแบบแผนพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมเพื่อยกระดับความสามารถเฉพาะ ราย พร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ที่เรียนจบหลักสูตร

ช่องทางการติดต่อ
ดำเนินการโดย
Post Views: 337